กรมการค้าต่างประเทศแย้มข่าวดี สหรัฐฯ แจ้งผลตอบโต้การอุดหนุนเบื้องต้นตะปูเหล็กไทยภาษีต่ำเพียงร้อยละ 0.04 – 0.10 รอดเดี่ยว ไม่ถูกเก็บหลักประกันอากรจาก 5 ประเทศที่ถูกกล่าวหา นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แจ้งว่าจากกรณีที่ไทยและอีก 4 ประเทศ ประกอบด้วย โอมาน ตุรกี อินเดีย และศรีลังกา ถูกรัฐบาลสหรัฐฯ เปิดไต่สวนมาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty : CVD) สินค้าตะปูเหล็ก เนื่องจากอุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯ ได้กล่าวหารัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐของไทยว่ามีพฤติกรรมให้การอุดหนุน (Subsidy) ผ่าน 13 โครงการ อาทิ โครงการสิทธิประโยชน์ในการลด/ยกเว้นภาษีบางประการของ BOI โครงการเงินกู้สำหรับการส่งออกของ EXIM Bank หรือโครงการแทรกแซงค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศ โดยมีลักษณะให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ส่งออกสินค้าตะปูเหล็กเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศในฐานะหน่วยงานกลางผู้รับผิดชอบในการดำเนินการแก้ต่างการใช้มาตรการ CVD ในกรณีดังกล่าว ได้ประสานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 13 หน่วยงาน เพื่อร่วมจัดทำข้อโต้แย้งต่อข้อกล่าวหาของสหรัฐฯ โดยในผลชั้นต้นปรากฏว่าสัดส่วนการให้การอุดหนุนในสินค้าตะปูเหล็กของไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.04 – 0.10 […]
Author Archives: pang-emterra
กรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยผลสำเร็จการจัดตั้งกองทุน FTA ตลอดช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมาที่ให้ความช่วยเหลือไปทั้งหมด 23 รายการสินค้า 6 ประเภทบริการ เน้นอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ มุ่งช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับสินค้าและบริการไทยให้สามารถปรับตัวและขยายตลาดส่งออกสู่ตลาดโลก นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวถึงผลการดำเนินโครงการกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากเปิดเสรีทางการค้า หรือกองทุน FTA ในโอกาสที่ดำเนินโครงการฯ มาเป็นเวลา 15 ปี (2550-2565) ว่า ปัจจุบันไทยได้ทำความตกลงการค้าเสรี 14 ฉบับ 18 ประเทศ ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบก็ต้องได้รับการเยียวยาเพื่อให้สามารถปรับตัวและอยู่ได้อย่างยั่งยืน กองทุน FTA เป็นเครื่องมือที่กรมการค้าต่างประเทศใช้ในการเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้ามาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการได้มีโอกาสพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และสามารถขยายไปยังตลาดส่งออก โดยการช่วยเหลือของโครงการของกองทุน FTA ที่ผ่านมาจะไม่ใช่การช่วยเหลือในรูปแบบของตัวเงิน คือ ไม่ใช่การให้เงินทุน หรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แต่เป็นการให้องค์ความรู้ สร้างทักษะและความสามารถในการแข่งขันให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ มุ่งเน้นการวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ มาตรฐานการผลิตสินค้า สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาการผลิตสินค้ารวมไปถึงการตลาดให้ได้ประโยชน์สูงสุดและสามารถแข่งขันได้ การดำเนินโครงการของกองทุน FTA ของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ได้ให้ความช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น 29 รายการสินค้าและบริการ […]
สหรัฐอเมริกาประกาศยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์จาก 4 ประเทศอาเซียน รวมทั้งไทยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2565 เป็นเวลา 24 เดือน นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามออกประกาศคำสั่งให้ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์จากประเทศภูมิภาคอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นระยะเวลา 24 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2565 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ว่าการนำเข้าสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์จาก 4 ประเทศข้างต้น จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าในช่วง 24 เดือน แต่การไต่สวนการหลบเลี่ยงมาตรการทุ่มตลาดและการอุดหนุน (Anti-Circumvention: AC) สำหรับสินค้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่นำเข้าจากทั้ง 4 ประเทศข้างต้นยังคงดำเนินการต่อไป โดยสหรัฐฯ ได้เปิดการไต่สวน AC ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 โดยกล่าวหาว่าสินค้าดังกล่าวที่ส่งออกจากทั้ง 4 ประเทศ เป็นสินค้าที่ใช้ชิ้นส่วนที่นำเข้าจากจีนมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปและส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพื่อหลบเลี่ยงมาตรการทุ่มตลาด (AD) […]
กรมการค้าต่างประเทศร่วมประชุมคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Food Security Reserve Board: AFSRB) แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์สินค้าอาหารสำคัญ และประเมินสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค ที่เผชิญกับความท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครนที่ส่งผลกระทบต่ออุปทานอาหารทั่วโลก นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศในฐานะผู้แทนประเทศไทย (AFSRB Board) และในฐานะเลขานุการถาวรคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน (AFSRB Secretariat) ได้เข้าร่วมการประชุม AFSRB ครั้งที่ 42 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมีกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผ่านระบบ VDO Conference โดยในปีนี้มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม 8 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนจากสำนักเลขาธิการอาเซียน สำนักเลขานุการระบบข้อมูลสารสนเทศความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Food Security Information System: AFSIS) […]
กรมการค้าต่างประเทศจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้าอาหาร 2565 (THAIFEX – ANUGA ASIA 2022 “The Hybrid Edition”) เดินหน้าประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีและความโดดเด่นของข้าวไทย ตอกย้ำศักยภาพความเป็นผู้นำด้านการผลิตและการส่งออกข้าวคุณภาพดีของโลกคาดยอดจำหน่ายสินค้าข้าวของผู้ประกอบการปีนี้ดีเกินคาด นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 – 2567 ด้านการตลาดต่างประเทศได้เดินหน้าจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้าอาหาร 2565 (THAIFEX – ANUGA ASIA 2022 “The Hybrid Edition”) ระหว่างวันที่ 24 – 28 พฤษภาคม 2565 ณ บริเวณ Rice Zone อาคาร Challenger 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อประชาสัมพันธ์และตอกย้ำภาพลักษณ์ที่ดีของข้าวไทยทั้งในด้านคุณภาพ มาตรฐาน และความหลากหลาย ตลอดจนเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการค้าข้าวคุณภาพดีทั้ง 15 ราย จาก 10 […]
กรมการค้าต่างประเทศเตือนผู้ส่งออกไทยกรณีการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าประเภท Form CO ทั่วไป เพื่อรับรองว่าเป็นสินค้าไทย แม้ว่าจะไม่ได้นำไปเพื่อใช้สิทธิพิเศษทางภาษีจากความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ก็ต้องตรวจสอบหลักเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ที่ประเทศนำเข้าปลายทางกำหนดก่อนยื่นขอ Form CO ทั่วไป เพื่อป้องกันการถูกตรวจสอบย้อนหลังจากประเทศปลายทาง หรือถูกเรียกเก็บอากรเพิ่ม นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานศุลกากรสหรัฐฯ (U.S. Customs and Boarder Protection: CBP) และหน่วยงานป้องกันการฉ้อฉลด้านศุลกากรแห่งคณะกรรมาธิการยุโรป (European Anti-Fraud Office: OLAF) ได้ขอความร่วมมือกรมฯ ตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าจำนวน 15 สินค้า จากผู้ส่งออกจำนวน 29 ราย เนื่องจากสงสัยว่าผู้ผลิตจากประเทศที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปมีมาตรการทางการค้า เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping Measure: AD) อาจแอบอ้างว่าไทยเป็นแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อหลบเลี่ยงการถูกเรียกเก็บอากร AD ของสหรัฐฯ/สหภาพยุโรป เป็นต้น […]